English Editing Researcher Services

คุณนำระเบียบการของวารสารมาพิจารณาในระหว่างตรวจแก้ต้นฉบับหรือไม่?

เมื่อบรรณาธิการของเราดำเนินการตรวจแก้ต้นฉบับนั้น เราจะนำระเบียบการของวารสารมาพิจารณาว่า งานวิจับของคุณตรงตามระเบียบการยื่นส่งวารสารหรือไม่

ทั้งนี้ทั้งนั้น เราจะดำเนินการดังต่อไปนี้ :

  • เราจะตรวจและแก้การสะกดหรือการใช้ภาษาในต้นฉบับ ทั้งนี้ เราจะแก้ให้การสะกดหรือการใช้ภาษาเป็นไปตามเกณฑ์ของวารสารเป้าหมาย อย่างไรก็ดีในกรณีที่ระเบียบการวารสารไม่ได้ตั้งข้อกำหนดเอาไว้ เราจะเลือกให้สำนวนในต้นฉบับมีความเสมอต้นเสมอปลาย สอดคล้องกับรูปแบบการเขียนหลักที่ปรากฎในต้นฉบับนั้นๆ

  • นอกจากนี้ เราจะตรวจสอบว่า ต้นฉบับของคุณนั้นมีจำนวนคำอยู่ในเกณฑ์ที่ระเบียบการของวารสารระบุไว้หรือไม่

    • หากต้นฉบับของคุณมีจำนวนคำเกินกว่าเกณฑ์ที่ระเบียบการวารสารกำหนดไว้มาก บรรณาธิการจะเขียนข้อความไว้ในต้นฉบับที่ตรวจแก้แล้วเพื่อเตือนให้คุณทราบ

    • หากคุณต้องการให้เราลดจำนวนคำในต้นฉบับลงในปริมาณมากๆ โปรดติดต่อเราเพื่อที่เราจะได้ทำใบเสนอราคาบริการพิเศษให้คุณ

  • เราจะตรวจระเบียบการของวารสารเป้าหมาย และให้ความเห็นแนะนำคุณในเรื่องต่อไปนี้ :

    • จำนวนคำสำหรับส่วนบทคัดย่อ หรือสำหรับต้นฉบับงานวิจัยทั้งฉบับ

    • การวางโครงสร้างของบทคัดย่อ

    • ให้ความเห็นเกี่ยวกับรายละเอียดหน้าแรกของต้นฉบับ (Title page) ว่ามีข้อมูลอะไรหายไปหรือไม่

    • เนื้อหาส่วนที่หายไป (อาทิ จุดสังเกต บทคัดย่อ บทนำเรื่อง หรือคำแถลงเกี่ยวกับการซ้อนทับของผลประโยชน์ ฯลฯ)

 

อย่างไรก็ดี เราจะไม่ดำเนินการดังต่อไปนี้ :

  • ดำเนินการจัดโครงสร้าง หรือเติมข้อมูลส่วนที่สูญหายไป

  • ตรวจแก้การอ้างอิงเอกสารทั้งในเนื้อหาของต้นฉบับและในส่วนบรรณานุกรม (หากคุณต้องการให้เราตรวจสอบความถูกต้องและแก้ไขในเนื้อหาส่วนเหล่าดังกล่าว กรุณาเลือกใช้บริการ"ตรวจแก้การอ้างอิง" ของเรา)

  • ตรวจแก้ข้อความที่อยู่ภายในตารางหรือภาพประกอบ (หากคุณต้องการให้เราตรวจสอบความถูกต้องและแก้ไขในเนื้อหาส่วนเหล่าดังกล่าว กรุณาเลือกใช้บริการ"ตรวจแก้ตารางและภาพประกอบ" ของเรา)